LINE FASHION ANNUALE 2021 เผยซูเปอร์เทคนิค ครองใจลูกค้ายุคดิจิทัล
ดึง 3 กูรูแฟชั่นแถวหน้าเมืองไทย นำ 15 แบรนด์ไทยฉายแววปัง บนรันเวย์แฟชั่นครั้งใหญ่
LINE FASHION ANNUALE 2021 (ไลน์ แฟชั่น แอนนัวเล่ 2021) เชิญผู้เชี่ยวชาญ
แฟชั่นแถวหน้าของไทย ป้าตือ-สมบัษร ถิระสาโรช คุณฟอร์ด-กุลวิทย์ เลาสุขศรี และคุณปุ๊ก จงกล พลาฤทธิ์ บรรณาธิการแฟชั่น นิตยสาร โว้ก ประเทศไทย ให้ความรู้เทรนด์การออกแบบและการทำธุรกิจแฟชั่นแก่ 15 แบรนด์ ที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่จะจัดแสดงคอลเลคชั่น บนรันเวย์แบบไฮบริดครั้งแรกของไทยในเดือนกรกฎาคมนี้
หลังจากทั้ง 15 ทีมต้องฝ่าฟันผ่านการคัดเลือกจากกว่า 500 ทีมเข้ามาถึงรอบสุดท้าย ต่อจากนี้ก็ถึงเวลาที่พวกเขาจะได้รับประสบการณ์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ ผ่านกระบวนการกรูมมิ่งและเวิร์คช้อปกับมืออาชีพแถวหน้าของเมืองไทย เพื่อพัฒนาแนวคิดทักษะฝีมือทุกมิติ ทั้งแฟชั่น การตลาด และดิจิทัล เริ่มต้นด้วยกิจกรรมปฐมนิเทศน์บอกเล่า 4 เทคนิคจำเป็น ที่แบรนด์แฟชั่นไทยต้องมีในโลกแฟชั่นยุคนี้
เรื่องเล่าโดดเด่นเป็นกระแสได้อย่างดี
ปุ๊ก-จงกล พลาฤทธิ์ แฟชั่นไดเร็กเตอร์ Vogue แนะนำว่า การที่แบรนด์มีเรื่องราว story telling จะทำให้สามารถมีบทสนทนา ใหม่ๆกับลูกค้าได้เสมอ ซึ่งจะช่วยกระตุ้นความสนใจในตัวตนของแบรนด์ได้อย่างมาก ผู้ประกอบการต้องกลับไปทำความเข้าใจในเรื่องนี้อย่างถ่องแท้ ก่อนจะนำมาคิดออกแบบแล้วทดลองสื่อสารกับลูกค้า อย่างเช่น หลายๆ แบรนด์ปัจจุบันมีการทำสินค้ารักษ์โลก เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม แล้วนำปัจจัยนี้ไปประกอบการเล่าเรื่อง Story Telling ที่สุดท้ายแล้วเพิ่มมูลค่า เพิ่ม Value เพื่อส่วนรวมและสังคมได้
คุณปุ๊ก ได้ยกตัวอย่างแบรนด์ไทยที่เป็นกรณีศึกษาที่ยอดเยี่ยมอย่าง BOYY Bag เมื่อมาถึงจุดธุรกิจที่ค่อนข้างอิ่มตัว เขาสามารถสร้างบทสนทนาใหม่ โดยออกแบบกระเป๋าที่เป็น Upcycling มาสร้างเป็นคอลเลคชั่นใหม่เรียกว่า BOYY UP นำกระเป๋าโครงสร้างเดิมแต่เปลี่ยนมาใช้วัสดุจากอีกแพทเทิร์นหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นชิ้นงานใหม่ เป็นการใช้วัสดุและวัตถุดิบต่างๆ ที่มีอยู่แล้วมาออกแบบและประกอบร่างใหม่เพื่อสร้างรูปทรงและตัวตนที่ไม่เหมือนเดิม เป็นคอลเลคชั่นที่ขายดี เพราะมีความชาญฉลาดในการเล่าเรื่องใหม่ที่เล่าผ่านกระแสความยั่งยืนนั่นเอง
สต็อคค้างมีได้แต่ต้องรู้จักจัดการ
ป้าตือ-สมบัษร ถิระสาโรช กล่าวเสริมถึงการจัดการแบรนด์ โดยเฉพาะเรื่องเคลียร์สต็อกว่าเป็นอีกส่วนที่สำคัญ ไม่ว่าจะนำมาอยู่ในรูปแบบ New Form หรือ Re-Construction ต้องทำให้สต็อกมีชีวิตใหม่ขึ้นมาด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การนำเสื้อผ้าเก่ามาดีไซน์เป็นชิ้นงานใหม่ เป็นต้น ผู้ประกอบการต้องมองถึงคุณค่าของแบรนด์ที่อยากส่งต่อ ต้องศึกษาภาพรวมทั้งอุตสาหกรรมแฟชั่น แล้วนำมาสู่การพลิกแพลงผลงานให้มีคุณค่า ทำให้สินค้าเป็นที่ยอมรับ ควบคู่ไปกับความอยู่รอดของบริษัท นอกจากนั้น ต้องมีความสามารถบริหารจัดการสต็อก ทำให้มีเงินหมุนเวียนได้ ซึ่งป้าตือ เล่าถึงกรณีศึกษาของแบรนด์หนึ่งว่า ทุกครั้งที่ทำคอลเลคชั่นจะไม่ใช้เงินทุนที่ได้จากกำไรของคอลเลคชั่นที่ผ่านมา แต่จะตั้งงบประมาณแยกขึ้นมาสำหรับแต่ละโปรเจคเพื่อควบคุมกำไรขาดทุนและวิธีการทำงานได้ง่ายกว่า ทำให้สามารถมีเงินสำรองไว้รันธุรกิจต่อไปได้ Passion
ต้องชัด ความอินเตอร์ต้องมี
ฟอร์ด-กุลวิทย์เลาสุขศรี บรรณาธิการบริหาร Vogue Thailand กล่าวว่า ผู้ประกอบการต้องแสดงออกถึง Passion ของตนเองให้ชัดเจน เอาจุดแข็งออกมานำเสนอ แฟชั่น คือ เรื่องการดีไซน์ทุกองค์ประกอบ มันคือการขายผลงานการออกแบบ ไม่ใช่แค่เรื่องของงานผ้า เช่น หากวัสดุมีเรื่องราว มีจุดเด่น ก็ควรส่งเสริมคุณค่าของวัสดุที่นำมาใช้ สื่อสารถึงที่มาของสินค้าโดยแสดงออกถึงความจริงใจ การแสดงตัวตนที่ชัดเจน ต้องมีคู่ไปกับความเป็นอินเตอร์เสมอ ถือเป็นการสร้างเสน่ห์ให้กับคอลเลคชั่น ไม่ใช่แค่ตรงใจกลุ่มเป้าหมายแล้วเกิดการซื้อเท่านั้น แต่ต้องเป็นการสร้างการมีส่วนร่วม ให้เกิด Community ของผู้ที่ใช้สินค้าของเรา
เครื่องมือออนไลน์ ไม่ใช่แค่ขาย แต่ใช้บริหารข้อมูลลูกค้า
เหล่ากูรูยังแนะนำให้ผู้ประกอบการใช้ทักษะการสื่อสารที่ถูกต้อง โดยเฉพาะช่องทางออนไลน์นำเสนอสินค้าด้วยวิธีการใหม่ๆ ไม่จำเป็นต้องเน้นขายสินค้าเสมอไป แต่ควรเปลี่ยนมาสนองตอบความต้องการของลูกค้าให้ได้มากกว่า โดยเริ่มจากศึกษาข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้า ทำสถิติลูกค้า Active ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงฉับไวจนต้องวางแผนกันแบบเดือนต่อเดือน โดย ป้าตือ ได้แนะนำเทคนิคครองใจลูกค้าจากประสบการณ์ด้านออนไลน์ของตนเองว่า ต้องค่อยๆสร้างฐานลูกค้าจากกลุ่มคนทั่วไปให้รู้จักแบรนด์ของเราก่อน แล้วจับเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เพราะหากเริ่มต้นจากกลุ่มเล็ก และนำเสนอเฉพาะกลุ่ม จะทำให้ลูกค้าส่วนมากคิดว่าแบรนด์นี้ไม่ได้ทำมาเพื่อตัวเขา แบรนด์นี้ก็จะไม่ได้รับความสนใจต่อไป ซึ่งสิ่งเหล่านี้ ผู้ประกอบการสามารถเก็บข้อมูลและศึกษาข้อมูลลูกค้า ได้จากช่องทางออนไลน์
เพียงเริ่มต้น ก็อัดแน่นไปด้วยเนื้อหาที่ทั้ง 15 แบรนด์แฟชั่นไทย ต้องนำไปใช้และปรับปรุงพัฒนางานของตน แต่จะเป็นไปตามคอนเซ็ปต์ที่วางไว้ ตรงใจลูกค้าอย่างเราๆ ได้แค่ไหน ต้องเตรียมติดตามบนเวที LINE FASHION ANNUALE 2021 รันเวย์แบบไฮบริดครั้งแรกของไทยในเดือนกรกฎาคมนี้ และสำหรับผู้ประกอบารแฟชั่น ที่อยากได้รับความรู้ เพื่อร่วมพัฒนาแบรนด์ของตัวเองไปด้วยกัน สามารถรอติดตามชม ซีรี่ส์เรียลลิตี้ Behind the Stage – LINE FASHION ANNUALE 2021 ผ่าน LINE TV และติดตามความเคลื่อนไหวของงานได้ทาง LINE Official Account: LINE for Business (@linebizth)
Komentar